ฟิล์มใสกันรอยรถยนต์มีส่วนประกอบอะไรบ้าง?
- ก.ค. 19, 2023
- 0
- ข้อมูลความรู้ บทความ
ฟิล์มใสกันรอยรถยนต์มีส่วนประกอบอะไรบ้าง?
บทความนี้จะมาเล่าประเด็นลึกซึ้งขึ้นมานิดหน่อยเกี่ยวกับฟิล์มใสกันรอยรถยนต์กันครับ ปกติเวลาเราพูดถึงฟิล์มใสกันรอยรถยนต์ เราก็มักจะรู้แต่เพียงว่ามันมีเนื้อฟิล์มกันรอย แล้วก็ข้ามไปเรื่อง หนาเท่าไหร่ วัสดุอะไร ยี่ห้ออะไร หรืออื่นๆ แต่บทความนี้เราจะมาพูดถึงองค์ประกอบของมันทั้งหมดว่ามันมีอะไรบ้าง แต่ละส่วนแต่ละชั้นทำหน้าที่อะไร และมีความหนาเท่าไหร่ไปด้วยเลย ดังนั้น บทความนี้เพื่อนๆอาจไม่ได้ประโยชน์ในแง่เพื่อการเลือกฟิล์มใสกันรอยที่เหมาะกับรถยนต์ของเราโดยตรง แต่น่าจะนำไปประกอบกับความรู้ในบทความอื่นๆ เพื่อจะได้เห็นภาพแบบภาพรวมได้ครับ
ฟิล์มใสกันรอยรถยนต์ที่เราใช้ๆกันในปัจจุบัน จะมีส่วนประกอบอยู่ 5 ชั้นครับ โดยแยกเป็นส่วนของแผ่นซับหรือ Liner 2 ชั้นประกบด้านบนและด้านล่าง และส่วนเนื้อฟิล์มจะมีชั้น Top Coat อยู่ด้านบนฟิล์ม และชั้นกาวอยู่ด้านล่างของฟิล์ม และ 3 ชั้นนี้คือส่วนที่เอาไว้ติดป้องกันสีรถยนต์เรานั่นเองตามรูปประกอบนี้ครับ
ทีนี้เราลองมาไล่เรียงกันว่ากว่าจะเป็นฟิล์มใสกันรอยรถยนต์แต่ละชั้นนั้นจะมีรายละเอียดอย่างไรบ้างครับ
แผนซับบน Top Liner
เป็นแผ่นพลาสติกใสที่เป็นตัวปกป้องชั้น TOP Coat ของฟิล์มกันรอย ไม่ให้เกิดการขูดขีด หรือการกดทับจากวัสดุอื่นจนเกิดตำหนิเสียหายดูไม่สวยงาม แผนซับบนนี้อาจจะมีลักษณะแข็งหรือนิ่มก็ได้ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมในการใช้งานตามประเภทของฟิล์มใสกันรอยนั้นๆ แผ่น TOP Liner จะมีความหนาอยู่ประมาณ 50 ไมครอน
Film
จะแบ่งออกเป็น 3 ชั้น และมีหน้าที่ต่างกัน ดังนี้
Top Coat (ท๊อปโค้ท)
คือชั้นบนสุดของฟิล์มใสกันรอยรถยนต์ ทำหน้าที่ในการปกป้องมลภาวะหรือรอยขีดข่วนต่างๆบน Base Film จะมีคุณสมบัติตามคุณภาพของวัตถุดิบ (การทดสอบคุณสมบัติการปกป้องของฟิล์มกันรอย) มีความหนาอยู่ที่ประมาณ 15 ไมครอน
Base Film (เบสฟิล์ม)
ชั้นนี้จะเรียกว่าแกนกลางของ Film เลยก็ว่าได้ ผลิตจากพลาสติกหลากหลายประเภท(ข้อมูลวัตถุดิบในการผลิต) ทำหน้าที่เป็นแกนกลางในการปกป้องสีของรถยนต์ คอยรับแรงกระแทก การยืดตัว หรือคืนตัว เพื่อให้เข้ารูปกับวัสดุต่างๆที่ต้องการติดตั้ง จะมีความหนาระหว่าง 130-260 ไมครอนโดยประมาณ
Glue (ชั้นกาว)
ตรงๆตัวเลย คือชั้นกาว ทำหน้าที่เป็นตัวยึดเกาะระหว่างฟิล์มใสกันรอย กับสีรถยนต์ ซึ่งชั้นกาวนี้อาจมีวัตถุดิบที่แตกต่างกันไป หรือจะบอกว่ามีหลายเกรดก็ได้ กูรูทางด้านฟิล์มใสกันรอยหลายๆท่านสามารถดมกลิ่นของชั้นกาวแล้วรู้ถึงแหล่งที่มาของฟิล์มหรือชั้นกาวได้เลยทีเดียวนะครับ ซึ่งชั้นกาวนี้จะมีความหนาอยู่ที่ 25 ไมครอนโดยประมาณ
หมายเหตุ : เมื่อเราจำแยกชั้นของฟิล์มใสกันรอยออกมาแล้ว เพื่อนๆจะเห็นว่า เฉพาะชั้นกาว และชั้น TOP Coat จะมีความหนารวมกันอยู่ที่ 40 ไมครอนโดยประมาณเลยทีเดียว ดังนั้น ความหนาของฟิล์มที่โฆษณากัน จะต้องหักออก 40 ไมครอน ถึงจะได้ความหนาที่แท้จริงของ Base Film นั่นเอง
Glue Liner
คือแผ่นซับรองกาว วัสดุหลักจะเป็นกระดาษเคลือบมันเพื่อรองชั้นกาวของฟิล์มใสกันรอย มักจะเป็นสีขาว อาจจะโปรงแสงหรือทึบแสงบ้างแล้วแต่การเลือกใช้เพื่อสวยงาม แผ่นซับรองกาวนี้จะมีความหนาเฉลี่ยอยู่ที่ 70 ไมครอน
ทั้งหมดนี้คือองค์ประกอบทั้งหมดของฟิล์มใสกันรอยรถยนต์ ถ้าเพื่อนๆทราบข้อมูลนี้แล้วนำไปประกอบกับข้อมูลอื่นๆผู้เขียนเชื่อว่าจะทำให้มองเห็นภาพรวมของฟิล์มใสกันรอยได้มากยิ่งขึ้นนะครับ
ฟิล์มใสกันรอยรถยนต์เกรด TPU ดีที่สุดจริงไหม?
ฟิล์มใสกันรอยรถยนต์ หนากว่าแล้วดีกว่าจริงหรือไม่?
ฟิล์มใสกันรอยรถยนต์ ARM@Z & APF
รายละเอียดอื่นๆของฟิล์มใสกันรอยรถยนต์ ที่มีให้บริการ สามารถดูได้ที่ลิงค์นี้ Armor Paint Protection Film | Armor Diamond (armorth.com)
ปรึกษาเรา www.armorth.com
บทความอื่นๆ
- ฟิล์มใสกันรอยรถยนต์เกรด TPU ดีที่สุดจริงไหม?
- ฟิล์มใสกันรอยรถยนต์ หนากว่าแล้วดีกว่าจริงหรือไม่?
- 168 Premium car detailing บริการเคลือบสีรถ ศูนย์เคลือบแก้ว เคลือบเซรามิค ติดฟิล์มใสกันรอยรถยนต์ พ่นกันสนิมสูตรเก็บเสียง Sikagard จังหวัดนครศรีธรรมราช
- Speed Full Protection บริการเคลือบสีรถ เคลือบแก้ว เคลือบเซรามิก ฟิล์มใสกันรอยรถยนต์ พ่นกันสนิม Sikagard จังหวัดลำปาง
- Asgard Full Protection Center พระราม9 ศูนย์เคลือบแก้ว เซรามิก ฟิล์มกันรอยรถยนต์ และพ่นกันสนิมสูตรเก็บเสียง